เรียนรู้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของซัปโปโรจาก
สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า นะโอยะ ฮอนดะ พนักงานดูแลสวนสัตว์มารุยามะ
สัตว์ยอดนิยมของสวนสัตว์มารุยามะ ไม่มีใครเทียบเท่าหมีขั้วโลก ที่นี่เป็น
สวนสัตว์ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งที่ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์หมีขั้วโลก ซึ่งการขยายพันธุ์ภายใต้การเลี้ยงดูนั้นทำได้ยาก สวนสัตว์มารุยามะมี “นิทรรศการสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของสัตว์” เป็นจุดพิเศษ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของพื้นที่ที่อยู่อาศัย เป็นการดึงพฤติกรรมของสัตว์ที่มีอยู่เดิมออกมา ให้สัตว์ทั้งหลายใช้ชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา
สำหรับคนที่แวะเที่ยวสวนสัตว์ในฐานะที่เป็นนักท่องเที่ยว ขอแนะนำอาคาร
สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า ที่นี่มีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าของฮอกไกโดทั้งหมดอยู่อย่างครบครัน พนักงานดูแลสวนสัตว์ คุณนะโอยะ ฮอนดะ ได้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของซัปโปโรและสวนสัตว์ให้ฟัง
ลักษณะที่แท้จริงของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้านั้น
เริ่มจากการสร้างสภาพแวดล้อม
“ที่ “โซนฮอกไกโด” มีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าของฮอกไกโดทั้งหมดอยู่อย่างครบครัน
ในฤดูหนาวจะจำศีล พอเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าจะเริ่มวางไข่ มี Ezosanshou uo (สัตว์ครึ่งบก
ครึ่งนํ้าชนิดหนึ่ง) ซึ่งเป็นสัตว์สายพันธุ์เฉพาะของฮอกไกโดจะออกไข่บ้าง กบ Ezoaka เริ่มทำการสืบพันธุ์บ้าง เป็นต้น การขยายพันธุ์ในบ่อนํ้านั้น พวกผมจะทำการจำลองภูมิอากาศของฮอกไกโดใหม่ในระดับหนึ่งที่ต้องการ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถที่จะปรับอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วยตัวเองได้ แต่เนื่องจากสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้ามีความสามารถในการตอบสนองตํ่า จึงต้องสร้างช่วงจังหวะของความเป็นสัดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นภายในบ่อนํ้า ในกรณีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าจาก
ต่างประเทศ ต้องทำภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละบ่อนํ้า เช่น ทำฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นต้น”
มองโลกจากบ่อนํ้า
คุณฮอนดะกล่าวว่า เพื่อที่เลี้ยงดูแลสัตว์ จะต้องรู้จักถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดนั้นเป็นอย่างดี ผมไปที่
“ป่าของสวนสัตว์มารุยามะ”ซึ่งอยู่ระหว่างสวนสัตว์และป่าดึกดำบรรพ์มารุยามะอยู่บ่อยๆ เขาบอกว่าคุณสามารถ
หาเคล็ดลับการดูแลสัตว์ได้จากที่นี่ครับ
“เมื่อมองไปที่ภูมิทัศน์ของบ่อนํ้า อยากจะให้เรียนรู้ว่าสัตว์ใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมแบบใด อาศัยอยู่ในทะเลทราย หรืออยู่ในป่าฝนเขตร้อน หรือพื้นที่ตรงไหนของซัปโปโร สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าเป็นสัตว์ที่จะต้องอยู่ในท้องถิ่น ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ในท้องถิ่นนั้น มันเชื่อมต่อกับชีวิตประจำวันของตัวเราเอง เวลาที่ไปแวะเที่ยวป่าที่ติดกับสวนสัตว์บ่อยๆ ผมยังคอยเฝ้าสังเกตดูงู Ratsnake ญี่ปุ่นอยู่เรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่พวกมันรู้สึกได้ ผมเองก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน นี่เป็นการเกิดขึ้นจริงในการดูแลสัตว์ พนักงานดูแลสวนสัตว์ มักแต่จะคิดว่าจะต้องสัมพันธ์กับสัตว์เท่านั้น แต่ควรคอยเฝ้าสังเกต
ใส่ใจในสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของพวกมันด้วย”
ไม่เพียงแต่สวนสัตว์มารุยามะเท่านั้น ผมยังเดินป่า ค้นพบสิ่งใหม่ๆ
“ที่เกือบจะข้างๆ สวนสัตว์มารุยามะ มีบ่อขยายพันธุ์ของ Ezosanshou uo (สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าชนิดหนึ่ง)
คนที่มาจากโตเกียวคงจะรู้สึกตกใจที่มีสถานที่แบบนั้นในใจกลางเมือง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าเป็นสัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมากที่สุด การที่พวกมันใช้ชีวิตอยู่ที่เกือบจะข้างๆ ตัวเมืองนั้น เป็นการบ่งบอกถึง การมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีเหยื่อและหนอนแมลงตัวเล็กๆ อาศัยอยู่นั่นเอง แต่ถ้าคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับป่า จะทำให้การขยายพันธุ์เป็นไปได้ยากขึ้น ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของพวกมัน เป็นโอกาสในการพิจารณาที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมของซัปโปโรและฮอกไกโดครับ”
สวนสัตว์มารุยามะ สามารถเดินทางมาได้โดยเดินจากสถานีรถไฟใต้ดินสายโทไซ “สวนสัตว์มารุยามะ” เพียง 15 นาที ในระหว่างทางมีต้นซากุระประมาณ 200 ต้นที่ปลูกอยู่ในสวนสาธารณะมารุยามะ ศาลเจ้าฮอกไกโด เส้นทางสีเขียวของป่าดึกดำบรรพ์มารุยามะที่อยู่ตรงประตูปีนเขามารุยามะ ขอแนะนำคอร์สที่เน้นสวนสัตว์และในขณะเดียวกันก็สามารถเพลิดเพลินไปกับเส้นทางที่อยู่รอบๆ ได้ นอกจากนี้ที่ “ป่าของสวนสัตว์มารุยามะ”
มีการจัดทัวร์เล็กๆ สำหรับการเดินเล่นป่า ไม่เพียงแต่อยู่ที่สวนสัตว์เท่านั้น การออกมาที่ป่าที่อยู่รอบๆ อาจเป็นการเรียนรู้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของซัปโปโรและเพลิดเพลินไปกับสวนสัตว์มารุยามะในรูปแบบใหม่ได้
ฮอนดะ นะโอยะ
ผู้ดูแลสวนสัตว์มารุยามะ
เกิดในปีค.ศ. 1976 ที่ซัปโปโร ทำงานที่สวนสัตว์มารุยามะตั้งแต่ ปีค.ศ. 1996 งานที่ดูแลรับผิดชอบคือ งานแสดงนิทรรศการของอาคารสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าที่มีประมาณ 60 ชนิด 120 จุด ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูร้อน จะทำการเสาะแสวงหาสัตว์เลื้อยคลาน และออกไปทำงานภาคสนามที่ฮอกไกโดและโอกินาว่า นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบงานผู้ฝึกเหยี่ยวสุวะริวที่ได้รับอนุญาตของ องค์กร NPO สมาคมการปล่อยเหยี่ยวญี่ปุ่น และงาน Free Flight ของ นกล่าเหยื่อที่สวนสัตว์ด้วย