แนวความคิดเกี่ยวกับสโลว์ฟูดส์ คือการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง ซุซุกิโมโมะ หัวหน้าแผนกธุรการของ “สโลว์ฟูดส์เฟรนด์ส ฮอกไกโด”
ซัปโปโรเป็นที่รวมของวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากที่ต่างๆ ในจังหวัด เป็นเมืองที่สามารถดื่มด่ำได้ทั้งความเป็นเมืองใหญ่และเขตเกษตรกรรม หากนั่งรถไปสัก 30 นาทีก็จะไปตามไร่นาหรือท่าเรือได้ “สโลว์ฟูดส์” ความเคลื่อนไหวที่กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกขณะนี้นั้น ที่ฮอกไกโดซึ่งเป็นคลังแห่งอาหารก็ดำเนินการอย่างคึกคักเช่นกัน ได้ไปพูดคุยกับคุณซุซุกิโมโมะ หัวหน้าแผนกธุรการของ “สโลว์ฟูดส์เฟรนด์ส ฮอกไกโด” ที่มีสมาชิกกว่า 100 คน
ก่อนอื่นให้พิจารณาจานที่ใช้รับประทานอาหาร และจินตนาการถึงความเป็นมาของอาหารนั้น
“อาจจะมีบางท่านที่คิดว่า “สโลว์ฟูดส์ คืออะไรนะ ?” ก่อนอื่น ให้ลองมองจานที่ใช้รับประทานอาหาร แล้วลองพิจารณาดูว่า เอ … เนื้อนี่มาจากไหนนะ แล้วขนมปังนี่ใครเป็นคนทำนะ ข้าวสาลีที่ใช้ทำขนมปังนี่ปลูกที่ไหนนะ ของที่นวดจนเข้ากันได้ดีนี่ใส่อะไรนะ ก็คงจะรู้สึกได้ว่าของกินที่เราไม่ทราบว่ามีความเป็นมาเป็นอย่างไรนั้นมีอยู่มากมาย ในทางตรงกันข้าม หากที่อยู่ตรงหน้าเป็นมะเขือเทศที่เราทราบว่าใครเป็นผู้ผลิตแล้วหละก็ จะเป็นอย่างไร อาจจะจินตนาการว่า “คงจะปลูกที่ไร่นั้นหละมัง” หรืออาจจะคิดขึ้นมาว่า “อยากจะรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณไร่นั้นนะ” โดยอัตโนมัติ อาจจะคิดขึ้นมาได้ว่า ถึงแม้จะเป็นผักที่รูปร่างไม่สมบูรณ์ก็ไม่เป็นไร ขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกว่าต้องพยายามทำให้ไม่ให้เกิดการสูญเสีย หากทราบถึงความเป็นมาของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มาตรฐานในการคัดเลือกก็จะเปลี่ยนไปด้วย อยากจะให้ลองถามตนเองดูว่า อาหารที่อยู่ตรงหน้านั้น สร้างความพึงพอใจให้แก่ทั้งร่างกาย และจิตใจตนเองหรือไม่”
หนังสือที่มีชื่อว่า “การใช้ชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์” นั้น สอนสิ่งดีๆ ให้กับเรา
“เนื่องจากผมเคยเป็นโรคภูมิแพ้หลายโรค ดังนั้น ตั้งแต่สมัยก่อนผมจึงเป็นคนที่ต้องคอยระวังการรับประทานอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย หรือการปนเปื้อนของสภาพแวดล้อม เช่นหมอกควัน และที่มาทราบความจริงว่าทั้งหมด มีส่วนสัมพันธ์กันนั้น ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการได้พบกับหนังสือที่ชื่อ “การใช้ชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์ เริ่มต้นจากโต๊ะอาหารของชาวอิตาเลี่ยน” ที่คุณนาซึ ชิมามุระเขียน ทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น วิธีการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นกับสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และคนยังมีทางเลือกที่สามารถเลือกได้ว่า “จะกินอะไร หรือใช้ชีวิตอย่างไร” จึงเกิดความสนใจในแนวความคิดเกี่ยวกับสโลว์ฟูดส์ และได้เข้าร่วมใน “ฮอกไกโดสโลว์ฟูดส์เฟรนด์ส โอบิฮิโระ” ซึ่งเป็นที่รวมของผู้ที่มีความคิดเหมือนๆ กัน เกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนการดำเนินชีวิตจากการรับประทานอาหาร เมื่อองค์กรเติบโตขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สโลว์ฟูดส์เฟรนด์สฮอกไกโด” มาจนถึงปัจจุบัน มีสมาคม 45 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่ที่มีสมาชิกเกิน 100 คนนั้น มีเพียงที่ฮอกไกโดเท่านั้น โดยมีจุดเด่นคือสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิต
งานเทศกาลเริ่มต้นจากการสนทนา ขณะล้อมวงรับประทานอาหารแล้วขยายวงออกเรื่อยๆ
“ตอนแรกเริ่มจากการสนทนาในระหว่างที่รับประทานอาหารร่วมกัน พูดง่ายๆ ก็คือในวงเหล้านั่นเอง (หัวเราะ) พอนั่งล้อมโต๊ะ ก็มักจะคุยกันโขมงโฉงเฉงถึงเรื่องอยากดูภาพยนตร์เรื่องนั้น หรืออยากฟังคนโน้นพูด และเริ่มต้นจากการสนทนาถึงเรื่องการฉายภาพยนตร์เรื่อง “วิธีแก้ไขสภาพแวดล้อมโลกของเซเวิร์น” ซึ่งเป็นสารคดีที่ติดตามชีวิตของเด็กผู้หญิงวัย 12 ขวบที่เรียกร้องให้เลิกทำลายสภาพแวดล้อมในการประชุม World Summit โดยกล่าวว่า “คนที่ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ก็อย่าพยายามทำลายสิ” และเรื่องที่เคยเรียนวิธีการดอง “ข้าวซุชิปลาแซลมอน” และ “ข้าวซุชิปลาหมึก” ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของฮอกไกโด ที่ปัจจุบันไม่ค่อยจะมีคนทำแล้ว จากสมาชิกคนหนึ่งที่เป็นผู้ผลิตวัวเขาสั้น และผู้เก็บสาหร่ายทะเล การรักษาวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และวัฒนธรรมการกินให้ยั่งยืนต่อไปนั้นก็เป็นกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของสโลว์ฟูดส์
ของอร่อยทั่วฮอกไกโดจะมารวมกันที่ซัปโปโร หากเดินทางออกไปเพียง 30 นาทีโดยทางรถยนต์ ก็จะเป็นเขตเกษตรกรรม มีเชฟจำนวนมากที่ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากผู้ผลิตและปลูกผักเอง หากทุกท่านได้พบกับวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่อร่อยถูกใจหละก็ อยากให้ลองไปเยือนสถานที่ผลิตหรือผู้ผลิตดูบ้าง อาจจะได้พบสิ่งใหม่ๆ จากการรับประทานอาหารก็ได้
ฮอกไกโดเป็นที่ที่จะสามารถซื้อผัก โดยพบกับผู้ผลิตได้ที่ตลาดมิจิโนะเอกิหรือสถานที่ขายตรงของเกษตรกร และยังขับรถเข้าถึงสถานที่ผลิตได้ การที่มีสถานที่ผลิตอยู่ใกล้ตัวนั่นก็หมายถึง มีทางเลือกที่จะซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารตามที่ตนเองต้องการได้มาก คุณอยากจะมีอะไรเป็นของกินบนจานของคุณล่ะ
ซุซุกิโมโมะ
ผู้วาดภาพประกอบ หัวหน้าแผนกธุรการของ “สโลว์ฟูดส์เฟรนด์ส ฮอกไกโด”
ผู้วาดภาพประกอบที่เกิดที่โตเกียวและโตที่ยูบาริ หัวหน้าแผนกธุรการของ “สโลว์ฟูดส์เฟรนด์สฮอกไกโด” นอกจากจะทุ่มเทให้กับการวาดภาพประกอบในโฆษณา, นิตยสาร หรือแพ็กเกจแล้ว ยังออก “วากุวากุโอยาซึเทะโจ (คู่มือขนมที่ทำให้ใจเต้นระทึก)” หรือ “มินนะไดซุคิซัปโปโรโนะปังยะซัง (ร้านขนมปังในซัปโปโรอันเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน)” หนังสือที่บรรยายขนมหรือของกินอร่อยๆ ด้วยภาพ